แบกเป้เที่ยวลาว ตอนที่ 1 ( หมอชิต-เวียงจันทน์)
หมอชิต - หนองคาย - เวียงจันทน์ - วังเวียง - หลวงพระบาง - เชียงของ - กทม.
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEh_7qTIekVOXNjGSM54ONEEEHuD2j_IhXaEUdk_OLZWkMfDH7sR5Afl-_S6RpN-nq50if3Tc5Pi6m96wJUXyBjzggZf-omvMagnzfXKue1quPQzj8gL3jGl2QuoOLU6PUSeGUQyEyYzVnc/s1600/Laos_01.png)
"การทรมานคือการรอคอย....(คลิป) " และเมื่ออารมณ์เป็นไปตามเพลง..ดังนั้นก็เลยจัดการกับเวลาด้วยการแบกเป้ นั่งรถ บ.ข.ส ข้ามไปทัศนศึกษา ณ ประเทศลาว.
![]() |
ภาพประกอบจากกลูเกิล ออกเดินทางคืนวันที่ 4 พ. ย. 2012 |
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiy38zKYj_xXK2Zo4gUwkYpeawxH1TZYihgF9_gCs4-MakwavpmGG1AIrjBPlmIRjp2Hnt9YB72riAdEL3T6EsIgNixavM-zTmvqNaHHFxutPWL1X7Xed-sgow2s9-QBRyFDiBYvlIr-Dw/s1600/Loa_02.jpg)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiUUi92VGkuzf2nA4B-n416ApbWdPUQ-7U-dhPSrYAP2_pUd-0Yj1JMWboclwwmq7FXjbWU19uKPKAaRzEScbi5oGwiGouw23HMziP4I7OfmunrVbP2wd4QRhfh6qR40oLzk_OivLLM4X0/s1600/Loa_000.jpg)
ปกติด่านจะเปิดเวลา 08.00 -20.00 น. แต่อย่างไรก็ตามเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่จะเดินทางข้ามไปฝั่ง สปป.ลาวก็จะมีเจ้าหน้าที่มาทำงานก่อน 08.00 น. แต่ทว่าผู้โดยสารต้องจ่ายเงินพิเศษเป็นค่าทำงานล่วงเวลาหรือเป็นค่ามาทำงานก่อนเวลาประมาณ 40 บาท ต่อคน ( หากจำไม่ผิด)
*** ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยเกี่ยวกับการเดินทางเช่น การฝากรถสำหรับผู้ที่เอารถไปเอง วิธีการทำบัตรผ่านแดน รวมถึงเส้นทางการเดินทางด้วยวิธีอื่นๆ แนะนำให้ดูที่ลิงค์นี้ครับ => ขั้นตอนการท่องเที่ยว เวียงจันทร์ ลาว (สะพานมิตรภาพ ไทย – ลาว)
เมื่อผ่านสะพานมิตรภาพมาได้ไม่นาน (30 นาที) รถ บ.ข.ส. ก็พามาส่งที่สถานีขนส่งที่เมืองเวียงจันทน์ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับตลาดเช้า ( Morning Market ) ซึ่งเป็นตลาดยอดนิยมของชาวเมืองเวียงจันทน์ ...
การเดินทางครั้งไม่ได้มีการแพลนล่วงหน้าประมาณว่า " no plan have a good plan " ...มีแต่แพลนครา่าวว่าจุดหมายปลายทางอยู่ที่ใดและเมื่อนึกขึ้นได้ก็เก็บเสื้อผ้ายัดใส่กระเป๋าแล้วก็เดินทางเลย ... ดังนั้นเมื่อมาถึงเวียงจันทน์ก็เลยนั่งมึนอยู่สักพัก
หลังจากนั้นก็ทำการหาข้อมูลว่าที่เวียงจันทน์นั้นมีสถานที่หรือแลนด์มาร์คที่ผู้คนนิยมไปท่องเที่ยวนั้นมีที่ไหนบ้าง? และจะต้องเดินทางอย่างไรจึงจะใช้เวลาให้คุ้มค่ามากที่สุด ...
และแล้วก็ค้นพบคำตอบสุดท้ายที่ลงตัวสำหรับคนโฉดที่เดินทางแบบฉายเดี่ยวชนิดคำไหนนอนนั่น ... นั้นก็คือมอไชต์ ....
เมื่อได้คำตอบ...จากนั้นก็เลยตรงดิ่งไปยังร้านเช่ามอไชต์แถบย่านเกสท์เฮาท์และย่านโรงแรมที่พักซึ่งอยู่ใกล้ๆกับตลาดเช้า...(ค่าเช่าก็ประมาณ 75,000 -100,000 กีบ หรือ ประมาณ 350-400 บาท ต่อวัน โดยขึ้นอยู่กับรุ่นและแบบของมอเตอร์ไชต์)
เมื่อได้มอเตอร์ไชต์คู่ชีพแล้ว อันดับแรกเลยก็คือมาหาอะไรกิน ตามด้วยนั่งทอดอารมณ์และผ่อนคลายด้วยกาแฟสดท้องถิ่นพร้อมทั้งนั่งศึกษาแผนที่ไปพลางๆ...
การเดินทางครั้งไม่ได้มีการแพลนล่วงหน้าประมาณว่า " no plan have a good plan " ...มีแต่แพลนครา่าวว่าจุดหมายปลายทางอยู่ที่ใดและเมื่อนึกขึ้นได้ก็เก็บเสื้อผ้ายัดใส่กระเป๋าแล้วก็เดินทางเลย ... ดังนั้นเมื่อมาถึงเวียงจันทน์ก็เลยนั่งมึนอยู่สักพัก
หลังจากนั้นก็ทำการหาข้อมูลว่าที่เวียงจันทน์นั้นมีสถานที่หรือแลนด์มาร์คที่ผู้คนนิยมไปท่องเที่ยวนั้นมีที่ไหนบ้าง? และจะต้องเดินทางอย่างไรจึงจะใช้เวลาให้คุ้มค่ามากที่สุด ...
และแล้วก็ค้นพบคำตอบสุดท้ายที่ลงตัวสำหรับคนโฉดที่เดินทางแบบฉายเดี่ยวชนิดคำไหนนอนนั่น ... นั้นก็คือมอไชต์ ....
เมื่อได้คำตอบ...จากนั้นก็เลยตรงดิ่งไปยังร้านเช่ามอไชต์แถบย่านเกสท์เฮาท์และย่านโรงแรมที่พักซึ่งอยู่ใกล้ๆกับตลาดเช้า...(ค่าเช่าก็ประมาณ 75,000 -100,000 กีบ หรือ ประมาณ 350-400 บาท ต่อวัน โดยขึ้นอยู่กับรุ่นและแบบของมอเตอร์ไชต์)
เมื่อได้มอเตอร์ไชต์คู่ชีพแล้ว อันดับแรกเลยก็คือมาหาอะไรกิน ตามด้วยนั่งทอดอารมณ์และผ่อนคลายด้วยกาแฟสดท้องถิ่นพร้อมทั้งนั่งศึกษาแผนที่ไปพลางๆ...
![]() |
5 พ. ย. 2012.... เดินทางมาเหนื่อยๆ ก็เลยทำการรีเฟรช (Re-fresh) ด้วยกาแฟสดลาวก่อน 1 ถ้วย เพื่อให้ระบบได้ตื่นจากความง่วงเหงาหาวนอน |
และ เมื่อกาแฟหมดแก้ว ่สมองและสองขาก็เริ่มทำงาน และเริ่มต้นด้วยการสำรวจตลาดเช้า ซึ่งเป็นสถานที่ยอดนิยมของนักช๊อบ ...
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjaY_Z0QJPN_YNrZHJsDzJJG8yQnp8gAK6RTnEcTXoL6qYc9i1xMat0gq6o04hSnq8s857BOxS4JBuwX0Ah0djKm8dWJdX3sM2vnNsrTiopgHbxCzUQcvtJ1H3xa72PkIBpCiXZlhyphenhypheniSiA/s1600/Loa_0000.jpg)
- ข้อมูลตลาดเช้า ตลาดเซ้า-ดิวตี้ฟรีลาว : สำหรับขาช้อปไม่มีหงอย ในเวียงจันทน์มีตลาดใหญ่ๆ บนถนนลานช้างอย่างตลาดเซ้าให้ช้อปกระจาย โดยเฉพาะสาวๆ ที่ชอบผ้าทอลาวลายโบราณ งานแกะสลักไม้ และของที่ระลึกมีให้เลือกหลายร้าน บางโซนเหมือนห้างติดแอร์เน้นสินค้าจากจีน ไทย เวียดนาม จำพวกสินค้าอุปโภค-บริโภค เครื่องใช้ไฟฟ้า โทรศัพท์ เสื้อผ้า ร้านขายทองและเครื่องเงิน ฯลฯ
- คลิปบรรยากาศตลาดเช้า
หลังเดินชมตลาดเช้าเสร็จเรียบร้อย...สถานีต่อไปก็คือวัดธาตุหลวง ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของลาวและชาวเวียงจันทน์ ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นพระธาตุที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ส่วนหัวเหน่า ๒๗ องค์ ... รูปแบบสถาปัตยกรรมเหมือนกับพระธาตุพนม และสร้างขึ้นในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ... (Cr: คมชัดลึก)
หลังใช้เวลาศึกษาและเยี่ยมชมวัดพระธาติหลวงอยู่ประมาณหนึ่งชั่วโมงเศษ ก็ทำการ make a move เดินทางเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ถัดไป...นั่นก็คือประตูชัย
![]() |
Patuxay Monument |
![]() |
ภาพเพดานด้านบน ของประตูชัย |
- ข้อมูลประตูชัยแด่ชาวลาวผู้เสียสละ :
ประตูชัย อนุสรณ์สถานแห่งชัยชนะหลังถูกปลดปล่อยจากเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศส ประตูชัยมีความสูง 49 เมตร เด่นสง่าด้วยโครงสร้างสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากประตูชัยในกรุงปารีส แต่ราย-ละเอียดของสถาปัตยกรรมล้วนบ่งบอกเอกลักษณ์ของลาวอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูปศิลปะลาวงานปูนปั้นเล่าเรื่องมหากาพย์รามายณะที่ใต้ซุ้มประตู และมีบันไดวนขึ้นไปชมทิวทัศน์ของนครเวียงจันทน์ใกล้กันยังเป็นที่ตั้งอาคารทำเนียบรัฐบาลและกระทรวงต่างๆ สามารถปั่นจักรยานหรือเดินเล่นชมเมืองได้สบาย
อีกเช่นเคยหลังจากได้เข้าไปศึกษาและเยี่ยมชมสถาปัตยกรรมของประตูชัยเรียบร้อยแล้ว ก็ทำการเดินทางต่อไปสถานที่ถัดไป ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางด้านศาสนาซะเป็นส่วนใหญ่ นั่นก็คือ วัดสีสะเกด หอพระแก้ว และ วัดศรีเมือง ..
สำหรับวัดสีสะเกดและ หอพระแก้วนั้นจะอยู่ใกล้ๆกัน คือจะตั้งอยู่กันคนละฝั่งถนน ส่วนวัดศรีเมืองนั้นจะอยู่ห่างไปอีกประมาณ 500 เมตร ซึ่งตั้งติดอยู่กับสถานทูตฝรั่งเศส
สำหรับประวัติและเรื่องราวของวัดที่กล่าวมานั้น ก็พอสรุปได้คราวๆดังนี้ ;
- หอพระแก้ว
หอพระแก้ว คือสถานที่เคยประดิษฐาน พระแก้วมรกต หรือ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ปัจจุบันเหลือเพียงพระแท่นที่ประดิษฐาน... เพราะพระแก้วมรกตองค์ปัจจุบันได้รับการอัญเชิญลงมาประทับที่กรุงเทพมหานครในสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โดยสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เป็นผู้อัญเชิญ - วัดสีสะเกด (Si Saket Temple)
เป็นสิ่งก่อสร้างที่หลงเหลือจากการถูกทำลายจากสยาม ซึ่งในประวัติศาสตร์ พระเจ้าตากสินมหาราชก่อตั้งกรุงธนบุรีและอัญเชิญ พระแก้วมรกต มาจาก เวียงจันทน์ ซึ่งสถิตอยู่ที่ หอพระแก้วแห่งนี้ ทำให้หอพระแก้วแห่งนี้ว่างเปล่า ต่อมาในสมัยพระนั่งเกล้าฯ (ซึ่งอาณาจักรล้านช้าง หรือลาว เป็นเมืองขึ้นสยาม) เจ้าอนุวงศ์ เจ้าเมืองเวียงจันทน์คบคิดออกห่างจากสยามและเข้าโจมตียึดหัวเมืองอีสาน เมื่อสยามกำราบชนะแล้วจึงสำเร็จโทษเจ้าอนุวงศ์ และเผาเมือง เวียงจันทน์ เสีย เว้นแต่ หอพระแก้ว และวัดสีสะเกด - วัดศรีเมือง
ตั้งอยู่บนถนนเชษฐาธิราช ทางทิศตะวันออกของสถานทูตฝรั่งเศส เป็นวัดแห่งหนึ่งในนครเวียงจันทน์ที่มีประชาชนลาวเดินทางไปสักการะบูชาเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน ภายในวัดศรีเมืองเป็นที่ตั้งของเสาหลักเมืองประจำนครเวียงจันทน์ วัดศรีเมืองสร้างขึ้นในปีพ.ศ.2106 โดยเหล่าเสนาอำมาตยืของพระเจ้าไชยเชษฐาธราชได้ลงความเห็นให้สร้างวัดศรีเมือง ณ ที่แห่งนี้ ต่อมาถูกกองทัพสยามทำลายลงในปีพ.ศ.2371 และสร้างวัดศรีเมืองขึ้นมาใหม่ในปี พ.ศ.2458 ภายในวัดศรีเมืองมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่มากมาย โดยเฉพาะพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และเก่าแก่ พระพุทธรูปองค์นี้ได้ชำรุดไปบางส่วน ซึ่งชาวลาวเชื่อกันว่าพระพุทธรูปองค์นี้ศักดิ์สิทธิ์เป้นอย่างมาก
*** ค่าเช้าชมคนละ 5,000 กีบ หอพระแก้วจะเปิดให้ชมตั้งแต่เวลา 08.00 – 12.00 น., 13.00 น. - 16.00 น. พักเที่ยง 1 ชั่วโมงและต้องแต่งตัวสุภาพรวมถึงห้ามถ่ายรูปภายในหอพระแก้ว ส่วนวัดศรีเมืองก็จะเปิดให้ชม 08.00-17.00 น.
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjAEQN4lnXG7N8IEkCKdk-xNZpTyU85to_vM6CIDVhOLuTWU_mOasPw3DMMCtXhNLyRIiHIVzBHQQzDBCof6iRfc2xSnH48YxHfbofUkTMkUemh0ZHKGlfgEBgHZnxskQI4WZnOrtwm7uU/s1600/Loa_31.jpg)
![]() |
ภายในโบสถ์ วัดศรีเมือง ซึ่งมีพระแก้วมรกตประดิษฐาน |
หลังเสร็จเยี่ยมชมวัด+ไหว้พระขอพรเรียบร้อยแล้ว ก็ขับมอไชต์คู่ชีพ วิ่งเลาะถนนริมฝั่งแม่น้ำโขง ชมและวิถึชีวิตและทัศนียภาพของชาวเวียงจันทน์ริมฝั่งโขง และแลนด์มาร์คที่สำคัญของบริเวณนี้ ก็คืออนุสาวรีย์เจ้าอนุวงษ์ดังภาพ
*** ประวัติเจ้าอนุวงษ์อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ ==> เจ้าอนุวงษ์
และหลังเสร็จสิ้นการขับรถเที่ยวชมทัศนียภาพริมน้ำโขงแล้ว ก็เดินทางเข้าย่านเกสท์เฮ้าท์เพื่อหาอะไรหม่ำ ก่อนที่จะจับรถเดินทางต่อไปยังวังเวียง ซึ่งได้ชื่อว่ากุ้ยหลินของลาว
สำหรับเรื่องของเมืองวังเวียง และหลวงพระบางนั้น จะได้นำมารีวิวเล่าสู่กันฟังในตอนถัดไป .... โปรดอย่าลืมติดตามนะครับ
No comments:
Post a Comment