“tube house” หรือ "Nhà Ống (ญ่าอ่อง) " บ้านยอดนิยมของชาวเวียดนาม
ช่วงห้าหกปีที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเดินทางมาทำงานที่เวียดนามไม่น้อยกว่า 5 ครั้ง บางปีก็มีการเดินทางมาถึง 2 ครั้ง
แต่ละครั้งก็จะบินมาลงที่สนามบินที่เมืองโฮจิมินห์และเดินทางตรงดิ่งมาที่เมืองหวุงเต่า ( Vung Tau) เพื่อไปขึ้นเฮลิคอปเตอร์วันรุ่งขึ้นในการบินออกไปทำงานนอกชายฝั่ง แต่บางทริปก็ทำงานอยู่ที่ shipyard หรืออู่ต่อเรือซึ่งไม่ต้องบินออกไปนอกชายฝั่งในกรณีที่แท่นเจาะน้ำมันเข้ามาทำการซ่อมใหญ่หรือ Overhaul
ระยะเวลาในการเดินทางจากโฮจิมินห์มาหวุงเต่าก็ประมาณ 2 ชั่วโมงกว่าๆ ... ระยะทางก็ประมาณ กรุงเทพฯ-พัทยา ถ้าเป็นบ้านเราก็วิ่งชั่วโมงกว่าๆ แต่ที่นี่รถเขาวิ่งช้าและส่วนใหญ่จะจำกัดความเร็วอยู่ที่ประมาณ 60-70 กม/ ชั่วโมง
รถวิ่งช้าๆแบบหวานเย็น .. คนขับส่วนใหญ่ก็สื่อสารภาษาอังกฤษไม่ค่อยได้..เราก็เลยได้แต่นั่งชมนกชมไม้สองข้างทางไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงจุดหมายปลายทาง
สิ่งหนึ่งที่สะดุดตาและอดสงสัยไม่ได้ก็คือบ้าน ..... บ้านซึ่งมีรูปแบบคล้ายๆกันคือออกแนวสูงๆผอมๆ ก็เลยทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่าทำไมจึงต้องออกแบบหรือทำออกมาในรูปแบบนี้ ..
เมื่อสงสัยก็เลยทำการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมและนำเรื่องราวมาฝากกัน ....
บ้านหรือตึกรูปทรงแบบนี้ภาษาท้องถิ่นเขาเรียกว่า " ญ่าอ่อง " หรือภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า " Tube House" หรือบ้านหลอดนั่นเอง
*** Nh ภาษาเวียดนามออกเสียงเป็น ญ
ทำไมเรียกบ้านหลอด ?
ข้อมูลจากอากู๋ (google) บอกว่า tube house ได้ตั้งชื่อตามคุณสมบัติของรูปทรง (characteristic dimensions) ซึ่งจะมีหน้าบ้านด้านที่ติดถนนหรือติดทางเดินค่อนข้างแคบ (ประมาณ 2 เมตร) และเน้นพื้นที่ยาวออกไปในเชิงลึก (สามารถทำให้ลึกลงไปได้ถึง 80 เมตร) ซึ่งก็มีลักษณะเหมือนกับท่อหรือหลอดนั่นเอง... โดยด้านหน้าส่วนใหญ่มักจะทำเป็นร้านขายของ ส่วนด้านหลังจะใช้เป็นที่พักผ่อนหลับนอน..
ทำไมต้องออกแบบเป็นบ้านหลอด ?
สำหรับเหตุผลที่ออกแบบเช่นนี้และเป็นที่นิยมกว่าสองศตวรรษที่ผ่านมานั้น หากพิจารณาจากคำบอกเล่าและจากข้อมูลที่รวมรวมได้ก็มี 2-3 เหตุผลดังนี้
....บ้างก็บอกว่า " เป็นบ้านที่เหมาะสำหรับที่อยู่กับแบบหลายๆครอบครัว เนื่องจากครอบครัวเวียดนามมีความผูกพันธ์มากกว่าครอบครัวไทย และคนเวียดนามถือว่าเป็นหน้าที่ของลูกๆหลานๆที่ต้องดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งจะให้ความสำคัญกับผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านมาก โดยจะไม่ไปทำงานที่อื่นๆโดยทอดทิ้งผู้ใหญ่ ซึ่งทำให้ครอบครัวของคนเวียดนามจึงรักใคร่ปรองดองกันมาก"
... บางบทความก็เล่าว่า.... เป็นเพราะรัฐบาลในกรุงฮานอยใช้วิธีการโง่ๆของการกำหนดภาษีทรัพย์สินโดยเรียกเก็บภาษีโดยใช้ความกว้างของสิ่งปลูกสร้างที่ติดกับถนนเป็นฐานในการคำนวน ดังนั้นชาวเวียดนามก็เลยตอบสนองนโยบายรัฐบาลด้วยการออกแบบหรือตึกออกมาดังที่เห็น..
...แต่จากการที่ได้พูดคุยกับชาวเวียดนามซึ่งเป็นท้องถิ่นก็ให้เหตุผลว่า...เวียดนามเป็นประเทศเล็กและมีประชากรค่อนข้างมาก ซึ่งทำให้ราคาที่ดินจึงมีราคาแพง ดังนั้นทีพักอาศัยก็เลยต้องออกแบบให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงตามอัตราส่วนของพื้นที่และจำนวนประชากร ...
*** เวียดนามมีประชากรมากกว่า 89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก
... แต่ละคนก็ให้เหตุผลที่แตกต่างกันไป แต่ก่อนจะเชื่อใครก็ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมดูนะครับ ... สำหรับท่านที่สนใจก็หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ google นะครับ โดยพิมพ์คำว่า tube house” หรือ "Nhà Ống
ไว้พบกันใหม่ hẹn gặp lại (แห่น กับ ไหล่)
รูปแบบโดยทั่วไป ก็จะจัดพื้นที่ใช้สอยดังต่อนี้
" tube house "
Local architects say the skinny, tubular design is what inspired the popular Vietnamese name “nha ong,” or “tube house,” more than two centuries ago. Early versions had interior courtyards and light shafts, but as Vietnamese cities grew more crowded, the houses became smaller and their interiors dim.
The tube house gets its name from its characteristic dimensions. With a narrow face on the street (often as narrow as 2 meters) and a long space on the inside (they can be up to 80 meters deep) these houses do indeed resemble tubes. This style dates back to the Le Dynasty (1428-1788), when they were popular as a way to fit as many stores on a street as possible. Typically, the houses had a shop area in the front and used the back areas for relaxing and sleeping.
ภาพจากกลูเกิล |
ช่วงห้าหกปีที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเดินทางมาทำงานที่เวียดนามไม่น้อยกว่า 5 ครั้ง บางปีก็มีการเดินทางมาถึง 2 ครั้ง
แต่ละครั้งก็จะบินมาลงที่สนามบินที่เมืองโฮจิมินห์และเดินทางตรงดิ่งมาที่เมืองหวุงเต่า ( Vung Tau) เพื่อไปขึ้นเฮลิคอปเตอร์วันรุ่งขึ้นในการบินออกไปทำงานนอกชายฝั่ง แต่บางทริปก็ทำงานอยู่ที่ shipyard หรืออู่ต่อเรือซึ่งไม่ต้องบินออกไปนอกชายฝั่งในกรณีที่แท่นเจาะน้ำมันเข้ามาทำการซ่อมใหญ่หรือ Overhaul
ระยะเวลาในการเดินทางจากโฮจิมินห์มาหวุงเต่าก็ประมาณ 2 ชั่วโมงกว่าๆ ... ระยะทางก็ประมาณ กรุงเทพฯ-พัทยา ถ้าเป็นบ้านเราก็วิ่งชั่วโมงกว่าๆ แต่ที่นี่รถเขาวิ่งช้าและส่วนใหญ่จะจำกัดความเร็วอยู่ที่ประมาณ 60-70 กม/ ชั่วโมง
รถวิ่งช้าๆแบบหวานเย็น .. คนขับส่วนใหญ่ก็สื่อสารภาษาอังกฤษไม่ค่อยได้..เราก็เลยได้แต่นั่งชมนกชมไม้สองข้างทางไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงจุดหมายปลายทาง
สิ่งหนึ่งที่สะดุดตาและอดสงสัยไม่ได้ก็คือบ้าน ..... บ้านซึ่งมีรูปแบบคล้ายๆกันคือออกแนวสูงๆผอมๆ ก็เลยทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่าทำไมจึงต้องออกแบบหรือทำออกมาในรูปแบบนี้ ..
เมื่อสงสัยก็เลยทำการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมและนำเรื่องราวมาฝากกัน ....
บ้านหรือตึกรูปทรงแบบนี้ภาษาท้องถิ่นเขาเรียกว่า " ญ่าอ่อง " หรือภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า " Tube House" หรือบ้านหลอดนั่นเอง
*** Nh ภาษาเวียดนามออกเสียงเป็น ญ
ทำไมเรียกบ้านหลอด ?
ข้อมูลจากอากู๋ (google) บอกว่า tube house ได้ตั้งชื่อตามคุณสมบัติของรูปทรง (characteristic dimensions) ซึ่งจะมีหน้าบ้านด้านที่ติดถนนหรือติดทางเดินค่อนข้างแคบ (ประมาณ 2 เมตร) และเน้นพื้นที่ยาวออกไปในเชิงลึก (สามารถทำให้ลึกลงไปได้ถึง 80 เมตร) ซึ่งก็มีลักษณะเหมือนกับท่อหรือหลอดนั่นเอง... โดยด้านหน้าส่วนใหญ่มักจะทำเป็นร้านขายของ ส่วนด้านหลังจะใช้เป็นที่พักผ่อนหลับนอน..
ทำไมต้องออกแบบเป็นบ้านหลอด ?
สำหรับเหตุผลที่ออกแบบเช่นนี้และเป็นที่นิยมกว่าสองศตวรรษที่ผ่านมานั้น หากพิจารณาจากคำบอกเล่าและจากข้อมูลที่รวมรวมได้ก็มี 2-3 เหตุผลดังนี้
....บ้างก็บอกว่า " เป็นบ้านที่เหมาะสำหรับที่อยู่กับแบบหลายๆครอบครัว เนื่องจากครอบครัวเวียดนามมีความผูกพันธ์มากกว่าครอบครัวไทย และคนเวียดนามถือว่าเป็นหน้าที่ของลูกๆหลานๆที่ต้องดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งจะให้ความสำคัญกับผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านมาก โดยจะไม่ไปทำงานที่อื่นๆโดยทอดทิ้งผู้ใหญ่ ซึ่งทำให้ครอบครัวของคนเวียดนามจึงรักใคร่ปรองดองกันมาก"
... บางบทความก็เล่าว่า.... เป็นเพราะรัฐบาลในกรุงฮานอยใช้วิธีการโง่ๆของการกำหนดภาษีทรัพย์สินโดยเรียกเก็บภาษีโดยใช้ความกว้างของสิ่งปลูกสร้างที่ติดกับถนนเป็นฐานในการคำนวน ดังนั้นชาวเวียดนามก็เลยตอบสนองนโยบายรัฐบาลด้วยการออกแบบหรือตึกออกมาดังที่เห็น..
บทความที่เกี่ยวข้อง=> Hanoi's Tube House
...แต่จากการที่ได้พูดคุยกับชาวเวียดนามซึ่งเป็นท้องถิ่นก็ให้เหตุผลว่า...เวียดนามเป็นประเทศเล็กและมีประชากรค่อนข้างมาก ซึ่งทำให้ราคาที่ดินจึงมีราคาแพง ดังนั้นทีพักอาศัยก็เลยต้องออกแบบให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงตามอัตราส่วนของพื้นที่และจำนวนประชากร ...
*** เวียดนามมีประชากรมากกว่า 89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก
... แต่ละคนก็ให้เหตุผลที่แตกต่างกันไป แต่ก่อนจะเชื่อใครก็ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมดูนะครับ ... สำหรับท่านที่สนใจก็หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ google นะครับ โดยพิมพ์คำว่า tube house” หรือ "Nhà Ống
ไว้พบกันใหม่ hẹn gặp lại (แห่น กับ ไหล่)
รูปแบบโดยทั่วไป ก็จะจัดพื้นที่ใช้สอยดังต่อนี้
" tube house "
Local architects say the skinny, tubular design is what inspired the popular Vietnamese name “nha ong,” or “tube house,” more than two centuries ago. Early versions had interior courtyards and light shafts, but as Vietnamese cities grew more crowded, the houses became smaller and their interiors dim.
The tube house gets its name from its characteristic dimensions. With a narrow face on the street (often as narrow as 2 meters) and a long space on the inside (they can be up to 80 meters deep) these houses do indeed resemble tubes. This style dates back to the Le Dynasty (1428-1788), when they were popular as a way to fit as many stores on a street as possible. Typically, the houses had a shop area in the front and used the back areas for relaxing and sleeping.
No comments:
Post a Comment