Aurora ออโรร่า หรือแสงเหนือคืออะไร?

Aurora  ออโรร่า หรือแสงเหนือคืออะไร?


ออโรร่า (Aurora)  หรือแสงเหนือ

เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่มีแสงเรืองบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน โดยมักจะขึ้นในบริเวณแถบขั้วโลก โดยบางครั้งจะ เรียกว่า แสงเหนือ หรือ แสงใต้ ขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิดปรากฏการออโรราเป็นตัวอย่างปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ที่น่าทึงที่สุดที่เกิดขึ้นในอวกาศที่ใกล้พื้นโลก มันอาจปรากฏจากสิ่งจางๆ เป็นวงนิ่ง แล้วระเบิดออกมาเป็นสีต่าง ๆ พุ่งกระจายภายในเวลาไม่กี่วินาที บางครั้งจะปรากฏเหมือนมันจะแตะกับพื้น หรือในเวลาอื่นอาจเห็นมันพุ่งสูงขึ้นสู่ท้องฟ้า แต่ความจริงแล้ว แสงออโรรานั้นเกิดขึ้นที่ความสูงจากพื้นโลก (altitudes) ประมาณ 100 ถึง 300 กิโลเมตร บริเวณที่อยู่บริเวณบรรยากาศชั้นบนที่อยู่ใกล้กับอวกาศ

ความหมายของชื่อแสงเหนือ แสงเหนือ ตามประวัตินั้นมีชื่อมากมายหลายชื่อ ชื่อวิทยาศาสตร์ของปรากฏการณ์นี้ คือ ออโรรา บอเรลลีส (Aurora Borealis) ซึ่งเป็นภาษาละติน แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า รุ่งอรุณสีแดงแห่งทิศเหนือ ซึ่งตั้งชื่อโดย กาลิเลโอ กาลิเลอิ (Galileo Galilei) (ค.ศ. 1564 – 1642)

คำว่า "Aurora Borealis" แปลว่า "แสงเหนือ" (Northern Light)
ส่วน "Aurora Australis" แปลว่า "แสงใต้" (Southern Light) และคำว่า "Aurora Polaris" แปลว่า "แสงขั้วโลก" ใช้เรียกทั้งแสงเหนือและแสงใต้


แสงเหนือ-แสงใต้เกิดจากอะไร?

ปรากฏการณ์แสงเหนือ แสงใต้ เกิดจากการชนกันระหว่างก๊าซในชั้นบรรยากาศโลกกับอนุภาคไฟฟ้าที่ถูกปล่อยออกมาจากพลังงานแสงอาทิตย์ ก่อให้เกิดการระเบิดเป็นลำแสงสีต่าง ๆ กันออกไป ขึ้นอยู่กับแสงนั้นเกิดขึ้นในช่วงชั้นบรรยากาศไหน และเกิดจากก๊าซอะไร

เพราะในระดับความสูงที่เหนือชั้นบรรยากาศ 100 กิโลเมตรขึ้นไป จะประกอบด้วยโมเลกุลไนโตรเจนและออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ โดยในระดับความสูงเหนือชั้นบรรยากาศประมาณ 100-200 กิโลเมตร ช่วงนี้จะมีโมเลกุลออกซิเจนหนาแน่นมาก สามารถก่อให้เกิดแสงออโรร่าสีเขียวอมเหลือง ซึ่งเป็นแสงเหนือ แสงใต้ยอดนิยมที่มักจะได้เห็นกันบ่อย ๆ

ส่วนแสงเหนือสีแดงจะปรากฏในช่วงชั้นบรรยากาศที่สูงเกิน 200 กิโลเมตรขึ้นไป แต่แสงสีฟ้าและสีม่วงมักจะปรากฏที่ช่วงความสูงเหนือชั้นบรรยากาศในช่วงที่ต่ำกว่า 120 กิโลเมตร อันเป็นช่วงชั้นที่มีโมเลกุลของไนโตรเจนหนาแน่นกว่าออกซิเจน


An aurora sometimes referred to as polar lights, northern lights (aurora borealis), or southern lights (aurora australis), is a natural light display in the Earth's sky, predominantly seen in the high-latitude regions (around the Arctic and Antarctic).


Auroras are the result of disturbances in the magnetosphere caused by solar wind. These disturbances are sometimes strong enough to alter the trajectories of charged particles in both solar wind and magnetospheric plasma. These particles, mainly electrons and protons, precipitate into the upper atmosphere


The resulting ionization and excitation of atmospheric constituents emit light of varying color and complexity. The form of the aurora, occurring within bands around both polar regions, is also dependent on the amount of acceleration imparted to the precipitating particles. Precipitating protons generally produce optical emissions as incident hydrogen atoms after gaining electrons from the atmosphere. Proton auroras are usually observed at lower latitudes.


เราจะพบแสงเหนือได้ในช่วงใด?

ช่วงเวลาที่ดีที่สุดของการเกิดแสงเหนือจะอยู่ในช่วงฤดูหนาวของทางขั้วโลก ซึ่งเป็นช่วงเดือนกันยายน ตุลาคม มีนาคม และเมษายน นอกจากนี้หากได้ไปเยือนขั้วโลกในขณะที่ท้องฟ้าปลอดโปร่ง ไร้เมฆ มีความมืดมิดสนิท มีสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างปลอดมลพิษ และเป็นช่วงเวลาตั้งแต่ 22.00-24.00 น. ก็จะยิ่งมีโอกาสในการเห็นแสงเหนือมากขึ้น

ทว่าหากใครต้องการความชัวร์ว่าอุตส่าห์เดินทางไปล่าแสงเหนือแล้วต้องไม่พลาดจะเก็บภาพเด็ด แนะนำให้ไปชมแสงเหนือในช่วงที่ผ่านวัฏจักรจุดสุริยะ (Sun Spot) มาแล้ว 2 วัน แต่อาจจะต้องรอกันนานนิดนึงเพราะวัฏจักรดังกล่าวจะเกิดขึ้นทุก ๆ 11 ปี ซึ่งล่าสุดก็เพิ่งมีช่วงแสงเหนือพีค ๆ ไปเมื่อปี ค.ศ. 2013 คร่อมปี ค.ศ. 2014 ซึ่งเป็นช่วงที่แสงเหนือจะเกิดได้ชัดเจนที่สุด ก่อนจะค่อย ๆ ลดระดับแสงลงจนกว่าจะเปล่งแสงเจิดจ้าขึ้นมาอีกครั้งเมื่อครบรอบวัฏจักร 11 ปี

เราสามารถพบแสงเหนือได้ที่ประเทศใดบ้าง?

- ประเทศสวีเดน (SWEDEN)
- ประเทศรัสเซีย (RUSSIA)
- ประเทศไอซ์แลนด์ (ICELAND)
- ประเทศฟินแลนด์ (FINLAND)
- รัฐอะแลสกา สหรัฐอเมริกา (ALASKA)
- ประเทศแคนนาดา (CANADA)
- ประเทศนอร์เวย์ (NORWAY)
- ประเทศกรีนแลนด์ (GREENLAND)

การไปไล่ล่าแสงเหนือ หรือการอยากพบกับแสงเหนือสักครั้งนั้นไม่ได้ง่ายดายนัก เพราะเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ดั้งนั้นใครอยากได้ยลโฉม ก็ต้องมีทั้งเวลา เงิน และโชคชะตาเลยทีเดียวครับ

No comments:

Post a Comment