ทิเบต face about TIBET

 เขตปกครองตนเองทิเบต


พระราชวังโปตาลา
 
fเขตปกครองตนเองทิเบต (ทิเบต:བོད་- โบด์; จีน: 西藏 ซีจ้าง) ทิเบตมีเมืองหลวงชื่อ ลาซา (Lhasa) เป็นเขตปกครองตนเองของชาวทิเบต มีพระเป็นผู้นำของเขตปกครองพิเศษนี้ ชนพวกนี้นับถือศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน คล้ายกับประเทศภูฏาน ทิเบตตั้งอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย เป็นที่ราบสูงที่สูงที่สุดในโลก จนได้รับฉายาว่า หลังคาโลก ทิเบตมีอากาศที่หนาวเย็นมาก และมีความกดอากาศและอ๊อกซิเจนที่ต่ำ ฉะนั้นผู้ที่จะมาในทิเบตจะต้องปรับสภาพร่างกายก่อน และด้วยเหตุนี้ประชากรที่อาศัยอยู่ในทิเบตจึงน้อย



พลเมืองชายของทิเบตกว่าครึ่งบวชเป็นพระ ก่อนที่จีนจะผนวกทิเบตเป็นเขตปกครองตนเอง ทิเบตมีสามเณริกามากที่สุดในโลก ในทิเบตเคยมีคัมภีร์มากมาย พลเมืองนับถือศาสนาอย่างเคร่งครัด จนได้รับฉายาว่า "แดนแห่งพระธรรม" (land of dharma) 

ชมคลิป












ที่ตั้งและอาณาเขต...เขตปกครองตนเองทิเบตมีพื้นที่ติดต่อดังนี้

    - ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตปกครองตนเองชินเจียงอุยกูร์และมณฑลชิงไห่ (ประเทศจีน)
    - ทิศใต้ ติดต่อกับประเทศเนปาล ประเทศภูฏาน มณฑลยูนนาน (ประเทศจีน) รัฐอัสสัม รัฐนาคาแลนด์ (ประเทศอินเดีย) ในปัจจุบัน บริเวณที่มีเขตติดต่อกับประเทศอินเดียนี้ ยังเป็นบริเวณพื้นที่พิพาทระหว่างจีนกับอินเดีย ซึ่งอินเดียได้อ้างกรรมสิทธิ์เข้ามาปกครอง และเรียกดินแดนบริเวณนี้ว่า อรุณาจัลประเทศ

   - ทิศตะวันออก ติดต่อกับมณฑลเสฉวน (ประเทศจีน)
   -  ทิศตะวันตก ติดต่อกับรัฐชัมมูและแคชเมียร์ (ประเทศอินเดีย) และประเทศปากีสถาน



ประวัติ

ก่อนคริสต์ศักราช ชนชาติทิเบตอาศัยอยู่ที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต มีการไปมาหาสู่กันกับชนชาติฮั่นที่อาศัยอยู่ในแผ่นดินใหญ่จีน ผ่านระยะเวลาอันยาวนาน เผ่าชนต่าง ๆ ของที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบตก็ค่อย ๆ รวมกันเป็นเอกภาพ และกลายเป็นชนชาติทิเบตในปัจจุบัน

ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 สภาพแบ่งแยกปั่นป่วนในภูมิภาคกลางของจีนที่ดำเนินมาเป็นเวลานาน 300 กว่าปีได้สิ้นสุดลง ขณะเดียวกัน วีรบุรุษ ซงจั้นกันปู้ ของชนชาติทิเบตได้สถาปนาราชวงค์ถู่ปัวอย่างเป็นทางการขึ้น และตั้งเมืองหลวงที่นครลาซา ในช่วงปกครองประเทศ กษัตริย์ซงจั้นกันปู้ได้ศึกษาเทคโนโลยีทางการผลิตและผลงานทางการเมืองและวัฒนธรรมที่ทันสมัยของราชวงค์ถัง และมีความสัมพันธ์ฉันมิตรในด้านต่าง ๆ กับราชวงค์ถังไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม


ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 13 หลังจากทิเบตได้รวมเข้าเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของจีนเป็นต้นมา แม้ว่าจีนจะมีหลายราชวงค์ที่ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นปกครองประเทศ และเปลี่ยนอำนาจรัฐหลายครั้ง แต่ทิเบตก็อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลกลางมาโดยตลอดไม่ว่าราชวงค์ใด


หลังจากราชวงศ์ชิงได้สถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. 2187 (ค.ศ. 1644) ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการปกครองควบคุมทิเบตอย่างใกล้ชิด ทำให้อำนาจการบริหารปกครองของรัฐบาลกลางเป็นไปอย่างมีระบบระเบียบยิ่งขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2270 (ค.ศ. 1727) ราชวงค์ชิงได้ส่งเสนาบดีไปประจำทิเบต เพื่อเป็นตัวแทนของส่วนกลางกำกับดูแลกิจกรรมบริหารส่วนท้องถิ่นของทิเบต


ตั้งแต่ พ.ศ. 2455 ราชอาณาจักรทิเบตประกาศแยกตัวเป็นเอกราชจากจีน แต่จีนยังมีอิทธิพลต่อการเมืองภายในทิเบตและยังมีอำนาจปกครองทิเบตในคามและอัมโด จนถึง พ.ศ. 2501 จีนบุกเข้าทิเบตและก่อตั้งเขตปกครองพิเศษขึ้น


ผู้นำทางจิตวิญญาณและผู้นำสูงสุดของชาวทิเบตคือ องค์ทะไลลามะ องค์ปัจจุบัน

No comments:

Post a Comment