ฮิโรชิม่า (HIROSHIMA) ประวัติศาสตร์โลกอันแสนเจ็บปวดที่ทุกคนอยากลืม แต่ต้องจดจำ
เนื้อหาต่อเนื่องจากตอนที่แล้ว = > การเดินทางมาฮิโรชิมา
การดินทางมาฮิโรชิมาครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งที่สองในการเดินทางมาญี่ปุ่นดังที่ได้เกริ่นไว้แล้วในตอนที่ผ่านมา โดยเดินทางมาถึงเมื่อประมาณต้นเดือนมิถุนายน 2005 และก็มีโอกาสได้พักอยู่ไกล้ๆกับ Atomic Bomb Dome และสวนสันติภาพ (Hiroshima’s Peace Memorial Park) เป็นระยะเวลาเดือนกว่าๆ
ฮิโรชิมาเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์โลก เนื่องจากเคยเป็นเมืองที่เคยโดนถล่มด้วยระเบิดปรมาณูลูกแรก เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2488 (ค.ศ 1945 ) ช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง...
ปัจจุบันฮิโรชิม่าได้กลายเป็นเมืองแห่งสันติภาพและวัฒนธรรมระดับนานาชาติ (International City of Peace and Culture) สภาพเมืองได้ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่อย่างมีอย่างมีระเบียบแบบแผนและมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งไม่หลงเหลือร่องรอยของความบอบช้ำจากสงครามปรากฏให้เห็น นอกเสียจาก อะตอมมิคบอมบ์โดม (Atomic Bomb Dome) ซึ่งเป็นซากปรักหักพังของหอการค้าอุตสหกรรมของเมืองฮิโรชิม่าที่ทางรัฐบาลญี่ปุ่นได้เก็บไว้เป็นอนุสรณ์สถานสำหรับเตือนชาวญี่ปุ่นและชาวโลกให้ระลึกมหันต์ภัยอันโหดร้ายของระเบิดปรมาณูหรือนิวเคลียร์ ที่ได้คร่าชีวิตผู้คนแบบเสียชีวิตทันทีกว่า 70,000 คน และอีกกว่า70,000 คนได้อันตรายและบาดเจ็บร้ายแรงจากรังสีนิวเคลียร์
ระเบิดปรมาณูโดม หรือ Atomic Bomb Dome หรือเรียกย่อๆว่า A-Bomb Dome เป็นของส่วนหนึ่งของอนุสรณ์สถาน Hiroshima’s Peace Memorial Park และถูกคัดเลือกจาก ยูเนสโก ให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก (World heritage)ในปี 1996. และกลายมาสัญลักษณ์หรือแลนด์มาร์คที่สำคัญของเมืองฮิโรชิม่า ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าหากมาที่ฮิโรชิม่าแล้วไม่ได้มาที่โดมแห่งนี้ก็เหมือนกับว่า "มาไม่ถึงฮิโรชิม่า"
จากภาพเราจะเห็น A-Bomb Dome อยู่ฝั่งตรงข้ามด้านซ้ายมือ ส่วนบริเวณภายในสวนสันติภาพจะมีอนุสาวรีย์และพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์สันติภาพที่รวบรวมเรื่องราวและประวัติศาสตร์ของเมืองฮิโรชิม่าช่วงก่อนและหลังที่จะโดนระเบิดปรมาณูเอาไว้ ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมอย่างสูงจากบุคคลและนักท่องเที่ยวจากทุกมุมโลก..
ภาพจาก CNN ซึ่งเป็นภาพมุมสูงที่มองจากด้านหลังของ A-Bomb Dome ซึ่งจะมองเห็น Peace Memorial Park ตั้งอยู่ฝั่งตรงกันข้าม |
รูปบน : คือแบบจำลอง Atomic Bomb Dome ในสภาพที่สมบูรณ์ก่อนที่จะโดนทิ้งระเบิดปรมาณู
รูปขวามือ : คือแท่งศิลาพร้อมคำอธิบายประวัติของ A-Bomb Dome ซึ่งอดีตเคยใช้สำหรับเป็นสำนักงานประชาสัมพันธ์อุตสาหกรรมของเมืองฮิโรชิม่า ( Industrial Promotion Hall)
คุณครูสาว (กระโปรงเหลือง) พานักเรียนมาทัศนศึกษาที่สวนสันติภาพ |
เมื่อเจอที่สำคัญๆทางประวัติศาสตร์ ก็ไม่พลาดที่จะเก็บไว้หลักฐานอีกเช่นเคย |
Peace Clock Tower
หอนาฬิกาแห่งสันติภาพ ทุกๆเช้าเวลา 8.15 ก็จะมีเสียงนาฬิกาดังขึ้นเพื่อเตือนความทรงจำและระลึกถึงเวลาที่เมืองนี้โดนทิ้งระเบิดปรมาณูเมื่อเช้าวันที่ 6 สิงหาคม เวลา 8.15 น ชมคลิก |
Peace Bell ระฆังแห่งสันติภาพสำหรับให้ผู้มาเยือนได้ตีบอกกล่าวกับชาวโลกทุกคนว่าเราต้องการสันติภาพ บริเวณรอบๆจะมีน้ำล้อมรอบและมีเสียงเขียด+อึ่งอ่างส่งเสียงร้องระงมอยู่ตลอดเวลา |
- พวงมาลัยรูปนกกระเรียนหลากสี
สิ่งของที่ผู้คนมักนำมาคาราวะอนุสาวรีย์และอนุสรณ์สถานต่างๆ มักจะประกอบด้วยรูปนกกระเรียนเป็นหลักซึ่งสื่อความหมายถึงสัญลักษณ์ของสันติภาพ สิ่งของทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นพวงหรีดหรือพวงมาลัย ทั้งหมดประติดประต่อด้วยนกกระดาษหรือวัสดุที่พับเป็นรูปนกกระเรียน
Children's Peace Monument : อนุสาวรีย์สันติภาพเพื่อรำลึกถึงซาดะโกะ ซาซากิ (Sadako Sasaki) และเด็กอื่นๆที่ตกเป็นเหยื่อของการทิ้งระเบิดปรมาณู
*** ซะดะโกะ ซะซะกิ (ญี่ปุ่น: 佐々木 禎子 Sasaki Sadako ?) (7 ม.ค. พ.ศ. 2486 - 25 ต.ค. พ.ศ. 2498) เป็นเด็กหญิงชาวญี่ปุ่น ที่อาศัยอยู่ใกล้กับสะพานมิซาสะในจังหวัดฮิโระชิมะ ประเทศญี่ปุ่น เธอมีอายุได้เพียงสองปี เมื่อระเบิดนิวเคลียร์ถูกทิ้งลงที่ฮิโระชิมะ เมื่อวันที่ 6 ส.ค. พ.ศ. 2488 แต่เธอรอดมาได้ ซะดะโกะเป็นเด็กที่แข็งแรงรวมทั้งเป็นนักกีฬา ในปี พ.ศ. 2497 เมื่อมีอายุได้ 11 ปี ในขณะที่กำลังซ้อมวิ่งอยู่นั้น เธอรู้สึกมึนหัวแล้วล้มลง หลังเข้ารับการตรวจก็พบว่าเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ซึ่งเป็นหนึ่งในผลสืบเนื่องจากระเบิดนิวเคลียร์ เพื่อนของซะดะโกะได้เล่าให้เธอฟังเกี่ยวกับตำนานที่ว่า ถ้าใครพับนกกระดาษได้ครบหนึ่งพันตัว จะได้สิ่งที่ตนต้องการ ซะดะโกะหวังว่านี่อาจช่วยให้เธอหายป่วยและกับมาวิ่งได้อีกครั้ง เธอใช้เวลา 14 เดือนในโรงพยาบาล และพับนกมากกว่า 1,300 ตัว ก่อนที่จะเสียชีวิตลงด้วยอายุเพียง 12 ปี (ในเรื่องเล่าที่ค่อนข้างแพร่หลายกล่าวว่าเธอพับนกได้แค่ 644 ตัวก่อนจะเสียชีวิต และเพื่อนของเธอพับนกให้เธอจนครบหนึ่งพันตัว และฝังนกเหล่านั้นพร้อมกับร่างของเธอ) ปัจจุบันที่ฐานอนุสาวรีย์ของเธอในบริเวณอนุสรณ์สถานสันติภาพ ฮิโระชิมะ ผู้คนจากทั่วโลกยังคงแวะเวียน นำพวงมาลัยนกกระเรียนกระดาษมาวางเพื่อระลึกถึงเธอ ผู้ซึ่งเป็นหนึ่งในความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากสงคราม
นอกจากนั้นบริเวณสวนสันติภาพยังประกอบด้วยอนุสรณ์สถานอื่นๆอีกหลายแห่ง เช่นสถานที่สำหรับฝังกระดูก+เศษเถ้าถ่านและร่างกายชาวฮิโรชิม่าที่รวบรวมได้จากบริเวณรอบๆและบริเวณใกล้เคียงซึ่งนำมาฝังไว้รวมกันไว้ และรวมถึงอนุสรณ์สถานของชาวเกาหลีที่พำนักอาศัยเพื่อประกอบสัมมาอาชีพช่วงสงคราม , อนุสาวรีย์เด็กชาย-หญิงที่อุทิศตัวเพื่อสันติภาพอย่างถาวรของโลก , รูปปั้นของแม่และเด็กในความวุ่นวาย และ อื่นๆ
ส่วนภายในพิพิธภัณฑ์จะรวมเรื่องราวเกี่ยวกับฮิโรชิม่าก่อนและหลังโดนระเบิดปรมาณูเอาไว้ให้ท่านได้ชมและศึกษาจำนวนมากมาย ซึ่งมีทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวและอื่นๆ แต่ว่าภายในไม่อนุญาตให้ถ่ายและบันทึกภาพ จึงไม่สามารถเก็บภาพมาฝากได้มากนัก คงมีแค่โมเดลจำลองของเมืองฮิโรชิม่า ก่อนและหลังโดนระเบิดมาฝากกันเท่านั้นดังนี้
ลูกบอลสีแดงคือตำแหน่งที่ระเบิดปรมาณูที่ชื่อว่าเจ้า "เด็กน้อย" หรือ "ลิตเติลบอย (Little Boy ) ตกลงสู่เมืองฮิโรชิม่า |
หลักฐานชิ้นสำคัญที่บ่งบอกถึงเวลาที่เมืองฮิโรชิม่าโดนถล่มด้วยระเบิดปรมาณู ( 8.15 น. วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ.2488) |
ภาพที่เห็นทำให้จินตนาการได้เลยว่าคนญี่ปุ่นและชาวฮิโรชิม่าต้องเจ็บปวดและทรมานแค่ไหนในช่วงหลังโดนโจมตีด้วยปรมาณู
จากประสบการณ์ที่ได้เห็นครั้งนี้ทำให้พอเข้าใจเลยว่าทำไมคนญี่ปุ่นจึงมีความเป็นชาตินยมสูง มีความสามัคคี มีความอดทนและมีระเบียบวินัยเป็นเลิศ
ภาพที่เห็นจึงไม่แปลกใจว่าทำไมญึ่ปุ่นจึงพื้นฟูประเทศอย่างรวดเร็วและกลายมาเป็นประเทศที่พัฒนาและเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีในปัจจุบัน...
" No pain, No gain " อดีตและปัจจุบันของญี่ปุ่นเปรียบไปแล้วเหมือนหนังคนม้วน...ดูเหมือนคนญี่ปุ่นไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตาแลได้แปลงความเจ็บปวดทั้งหมดที่เกิดขึ้นในอดีตให้กลายมาเป็นแรงผลักดันที่ยิ่งใหญ่ในปัจจุบัน..นั้นคือเหตุผลว่าทำไมญี่ปุนจึงได้เปลี่ยนแปลงตัวเองได้อย่างรวดเร็ว
*** ในอดีตเมื่อครั้งสมัยเรียนหนังสือ เคยรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับฮิโรชิม่าแบบผิวๆเผินๆและก็เน้นท่องจำแบบนกแก้วนกขุนทองเพื่อที่จะให้ได้คะแนนดีๆ ในการสอบ แต่หลังจากทริปนี้ไปทุกอย่างเข้ามาอยู่ในความทรงจำอย่างฝังลึกเลยโดยไม่ต้องท่องจำเหมือนในอดีตอีกเลย !!
- ข้อมูลสำหรับการเข้าชมพิพิธภัณฑ์
คลิปเกี่ยวกับเด็กหญิงซะดะโกะ ซาซากิ
*** ขอจบเรื่องเล่าเกี่ยวกับ A-Bomb Dome เอาไว้แค่นี้ก่อนนะ ตอนถัดไปจะเล่าเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญๆในฮิโรซิมาที่เหลือให้ฟัง โปรดติดตามตอนต่อไปนะครับ
No comments:
Post a Comment