รีวิว...มารี มารี (Mari Mari) หมู่บ้านวัฒธรรมของรัฐซาบาห์ (ตอนที่ 1) |
Mari Mari Culture Village |
จากที่ได้กล่าวไว้ในตอนที่แล้วว่าหลังจากที่ได้ลงไปทำงานอยู่บนแท่นประมาณสองสัปดาห์กว่าๆ ก็เป็นอันว่าจบโปรเจ็ค..ปิดจ๊อบและก็ได้เวลากลับเข้าฝั่ง
วันกลับขึ้นฝั่งครั้งนี้ก็ตรงกับวันอาทิตย์พอดี ( 17 NOV 2014) ซึ่งก็เป็นวันหยุดราชการของมาเลฯ ก็เลยทำให้พาสปอร์ตที่ส่งเข้าไปเพื่อทำเรื่องขอวีซ่าทำงานติดค้างอยู่ที่ออฟฟิศตรวจคนเข้าเมืองและทำให้ไม่สามารถบินออกจากมาเลเซียในวันนี้ ดังนั้นลูกค้าก็เลยต้องยกผลประโยชน์ให้จำเลยโดยการจัดโรงแรมที่พักให้และทำการเปลี่ยนตั๋วให้บินกลับในวันถัดไปแทน
การเลื่อนตั๋วออกไป 1 วัน ก็เลยทำมีเวลาว่างเกือบทั้งวัน...ดังนั้นผมก็เลยตัดสินใจเดินทางไปยังจุดหมายที่เคยพลาดเมื่อครั้งก่อน นั่นก็คือ Mari Mari culture village หรือหมู่บ้านวัฒนธรรม มารี่ มารี่
ต่อเนื่องจากเรื่องเล่าสองตอนที่ผ่านมา:
- ประวัติโดยย่อๆ ( Mari Mari ภาษามาเลย์ มีความหมายในภาษาอังกฤษว่า common หรือ มานี่ มานี่)
Mari Mari เป็นสถานที่ท่องเที่่ยวหรือแลนด์มาร์คที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของโปรแกรมทัวร์สำหรับผู้คนที่มาเยือนเมืองโคตะคินาบาลู (Kota Kinabalu) ....หมู่บ้านวัฒนธรรมนี้ตั้งอยู่ลึกลงไปในชนบท ..โดยอยู่ห่างจากตัวเมือง Kota Kinabalu ประมาณ 25 นาที.... หมู่บ้านนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นพิพิธภัณฑ์สำหรับเก็บรักษาวัฒนธรรมชาติพันธุ์ดั้งเดิมของชาวเกาะบอร์เนียว
โดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือเพื่อแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับประวัติ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีต่างๆ และวิธีชีวิตของชาวเกาะบอร์เนียว ในวันเก่าๆเมื่อครั้งสมัยที่ยังไม่มีไฟฟ้าและยังไม่มีการพัฒนาเหมือนในยุคปัจจุบัน
ในการทัวร์ครั้งนี้ท่านจะได้สัมผัสกับกลิ่นไอและวัฒนธรรมเก่าๆของชนเผ่าเจ้าของพื้นที่ดั้งเดิมที่อยู่อาศัยในแถบนี้มาก่อน ซึ่งประกอบด้วยเผ่าต่างๆดังนี้ ชนเผ่าชาวนาหรือที่เรียกว่า Kadazan-Dusun ชนเผ่า Rungus ที่อาศัยอยู่ในบ้าน long house นักล่าและชาวประมงที่เรียกว่า Lundayeh, Cowboy และ Sea gypsey ที่เรียกว่า Bajau และ Murut ซึ่งเป็นเผ่านักล่าหัวคนที่น่าเกรงกลัว ( headhunting Murut) ซึ่งก็ได้พาท่านเดินเที่ยวชมไปด้วยกันดังต่อไปนี้
- เริ่มต้นทัวร์
สถานที่แห่งนี้จะจัดทัวร์เป็นรอบ คือรอบสิบโมงเช้า บ่ายสองโมง และรอบหกโมงเย็น(รอบนี้ไม่ค่อยมีคนและไม่ค่อยได้จัด) โดยมีค่าใช้จ่าย 80 ริงกิต(800 บาท)รวมค่าอาหารกลางวันซึ้งเป็นแบบบุฟเฟ่
เริ่มต้นทัวร์ => เดินทางข้ามลำธารเข้าสู่หมู่บ้านชนเผ่านด้วยสะพานแขวน
เริ่มต้นทัวร์ เดินข้ามสะพานข้ามลำธาร เข้าสู่หมู่บ้านวัฒนธรรม |
- จุดแรก (หมายเลข 2 ตามแผนที่ ) => ดูซูน-ชนเผ่าชาวนา (Kadazan-Dusun )
สถานีแรก ( หมายเลข 2 ตามแผนที่) ซึ่งเป็นบ้านจำลองวิถีชีวิตของชาว DUSUN |
*** ดูซูนนี้เป็นจัดว่าเป็นชนเผ่าที่ใหญ่ที่สุดในรัฐซาบาห์
บนบ้านก็จะมีการจัดแสดงเรื่องราวและชีวิตความเป็นอยู่ของคนเผ่านี้ รวมถึงน้องนอน ห้องครัว+การรักษาและการถนอมอาหาร
ไฮไลน์ของจุดนี้ก็คือการสาธิตการทำไวน์จากข้าวซึ่งเรียกว่า Rice Wine และมีไวน์ตัวอย่างรินใส่ถ้วยที่ทำจากกระบอกไม่ใผ่ให้ได้ชิมกันแบบสดๆ ( ณ จุดนี้ผู้เขียนก็ไม่พลาด ก็หวดไป 2-3 จอก พอเป็นกษัย..55)
มีการสาธิตการทำอาหารจากกระบอกไม้ใผ่ Bamboo Cooking
สาธิตการการกลั่นไวน์ พร้อมทั้งให้ชิมรสชาติเพื่อเปรียบเที่ยวกันระหว่างไวน์ที่ผ่านการกลั่นแล้วกับไวน์ที่ไม่ได้ ว่าอันไหนรสชาติดีกว่ากัน
การหาน้ำผึ้งป่า พร้อมทั้งตัวอย่างให้ชิม
- จุดที่ 2 (หมายเลข 3 ตามแผนที่ ) - Rungus Longhouse
คนเผ่านี้จะสร้างบ้านเป็นแบบทรงยาว เพื่ออยู่กันเป็นกลุ่มหลายครอบครัว บรรใดก็จะทำจากต้นไม้แล้วบากเป็นขั้นบันใดและเมื่อถึงเวลากลางคืนก็จะชักบันใดขึ้นเก็บไว้บนบ้านเพื้อป้องกันผู้มาบุกรุกหรือคนนอกขึ้นบ้าน |
ภาพภายในบ้าน |
เครื่องใช้ และ เครื่องประดับสำหรับสตรี |
- จุดที่ 3 (หมายเลข 4 ตามแผนที่ ) - Lundayeh House หรือ Lun Bawang
วิธีชีวิของคนกลุ่มนี้ใช้ชีวิตคล้ายคนชนบทชาวมาเลทั่วไป บานมีระเบียง มีครัวแบบเปิด (เวลาจะทำครัวก็จะมีไม้ค้ำเปิดหน้าต่างให้ควันไฟออกไปด้านนอก) มีการตะกร้า เลี้ยงไก่ นก และหมู และเป็นนักล่าสัตว์หาปลา
ตัวอย่าบ้าน |
การแต่งตัวของผู้ชายประจำเผ่า... ก็จะมีโล่ มีมีดดาบ และมีเสื้อกั๊กที่ทำมาจากเยื่อไม้ ( ตัวที่นักท่องเที่ยวใส่ถ่ายรูปอยู่) |
*** รูปภาพและเนื้อหายังเหลืออีกค่อนข้างเยอะสมควร ดังนั้นจึงขอพักตอนที่ 1 นี้ไว้เพียงแค่นี้ก่อน ซึ่งจะกลับมาเล่าให้ฟังในตอนถัดไปครับ
*** ลิงค์ ...รีวิว...มารี มารี (Mari Mari) หมู่บ้านวัฒธรรมของรัฐซาบาห์ (ตอนที่ 2)
No comments:
Post a Comment