crystal longan

Borneo fruits-Sarawak crystal longan
Borneo fruits-Sarawak crystal longan






        เมื่อวานตอนเย็น ( 03 FEB 2015 )  ผมได้ทำขวดกาแฟหล่นแตก ทำให้เช้านี้ไม่มีกาแฟชงดื่ม .... วันนี้ก็เลยต้องออกไปตลาดที่อยู่ใกล้ๆกับบ้านพักตั้งแต่เช้าตรู่ เพื่อไปหากาแฟดื่มและหาซื้อกาแฟสำเร็จรูปเอากลับมาไว้ชงดื่มที่บ้าน...

       *** กาแฟที่ชอบ ก็จะเป็นกาแฟดำ ไม่ใส่นมและใส่น้ำตาลพอตัดขมเล็กน้อย ซึ่งคนสิงคโปร์มักจะเรียกกาแฟสูตรว่า โกปิ้ โอ ( Kopi-O)  ราคาก็แล้วละ 90 เซ็นต์ (22 บาท)  หรือถ้าใส่ถุงกลับบ้านก็ราคา 1 เหรียญสิงคโปร์ หรือ 24  บาทโดยประมาณ...

 
   

  เมื่อรับกาแฟเรียบร้อยก็เลยถือโอกาสเดินดูของในตลาดสด (Wet Market) ที่อยู่ติดๆเพื่อซื้อผลไม้และดูว่าวันนี้จะหาอะไรไปต้มยำทำแกงได้บ้าง??

   และเมื่อเดินแตร่ไปรอบๆก็เหลือบไปเห็นผลไม้แปลกๆอยู่ชนิดหนึ่งซึ่งก็ไม่เคยเห็นมาก่อนในชีวิต ... จึงได้เดินเข้าไปทักทายและสอบถามคุณลุงซึ่งเป็นผู้ขายว่า..มันคืออะไรและรสชาติมันเป็นอย่างไร ?


     ลุงก็ตอบว่ามีคือลำไย (Longan)  มันคือลำไยมาเลเซีย และถ้าต้องการรู้ว่ารสชาติเป็นอย่างก็คงต้องซื้อไปลองดู ... และด้วยความอยากรู้จึงได้ซื้อมาลองชิมดู...ซึ่งราคาก็ตกกิโลละ 12 เหรียญหรือก็เกือบๆสามร้อยบาท

    และเมื่อกลับมาถึงบ้านจึงได้เข้าไปสอบถามอากู๋ (Google) เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมว่ามันคืออะไร  มีชื่อจริงนามสกุลจริงว่าอะไรและมีถิ่นกำเนิดหรือภูมิลำเนาอยู่ทีไหนอย่างไร ?


รูปแสดงตัวอย่างนั้นแต่วัยหนุ่ม...วัยกลาง...วัยแก่..จนกระทั่งถูกกะเทาะเปลือกออก


   คำตอบที่่จากอากู๋ก็คือ:


เมื่อแกะเปลือกออกมาจะมีลักษณะดูคล้ายลูกตา
    'Kasai' หรือ 'Matoa'    หรือบ้างก็เรียกผลไม้ชนิดนี้ว่า " crystal longan" หรือ " crystal lychee "  พรือภาษาคนท้องถิ่นก็จะเรียกว่า dragon's eyes หรือลูกตามังกรนั่นเอง ( เมื่อแกะเปลือกออกมาจะมีลักษณะคล้ายลูกตา)
ผลไม้ชนิดนี้เป็นผลไม้ของเมืองกูชิง ( Kuching) ซึ่งเป็นเมืองหลวงฝั่งตะวันออกของมาเลเซีย  และเป็นผลไม้เก่าแก่ของมาเลเซีย




***  ‘matoa’ meaning crystal  ( matao แปลว่า คริสตัล) 



   สำหรับเรื่องรสชาติของผลไม้ชนิดนี้ บางคนก็จะบอกว่ามันมันรสชาติเหมือนลำใย (longan) หรือบ้างก็บอกว่ารสชาติเหมือนเงาะ (rambuton) ....


    สำหรับมุมมองของผมหลังจากได้ชิม... ผมสรุปว่ามันคือเหมือนลูกผสมระหว่างลำใยกับเงาะครับ...

    เม็ดจะมีลักษณะกลม สีน้ำตาลแกมดำเคลือบเงานซึ่งมีลักษณะคล้ายเม็ดลำใยและเนื้อล่อนไม่ติดกับเม็ด... ส่วนเนื้อกลับไม่เหมือนเนื้อลำใย..เนื้อจะหนาแน่นเหนียวหนุบเหมือนเหมือนเงาะโรงเรียนหรือเงาะกระป๋องในน้ำเชื่อม...แต่มีความหวานน้อยกว่าเงาะ หรือหวานปานกลาง  moderate sweetness  ซึ่งเป็นที่นิยมของคนเป็นโรคเบาหวาน ที่ทานหวานมากไม่ค่อยได้


    สำหรับรูปโฉมโนมพรรณหากดูสัสันภายนอกแล้วสีก็จะคล้ายกับมังคุด ( mangosteen )   ลักษณะเปลือกก็คล้ายมังคุดแต่ว่าบางกว่ามากและก็แข็งกว่ามังคุดมากๆ


 
" crystal longan" หรือ " crystal lychee "  หากสื่อความหมายเป็นภาษาไทยก็น่าจะหมายถึงลำใยแก้ว หรือลิ้นจี่แก้ว อะไรประมาณนี้  เนืองจากเนื้อจะออกสีเหลืองนิดและโปร่งแสงคล้ายๆกับผลึกแก้วคริสตัล ซึ่งก็เลยทำให้ชื่อของผลไม้ชนิดมีคำว่าคริสตัลนำหน้า..


  การแกะเปลืยกโดยทั่วไปก็จะใช้วิธีการบีบด้วยอุ้งมือทั้งสองข้าง (ใส่ไว้ในอุ้งมือแล้วใช้นิ้วมือประสานกันแล้วบีบ)  หรือบางคนก็ใช้วิธีกระเทาะกับของแข็งๆเช่นก้อนหินพื้นปูนหรือใช้ฆ้อนเล็กๆทุบเบาๆประมาณนี้


    ราคาโดยทั่วไปก็ประมาณ 15 ริงกิตมาเลเซีย หรือ 150 บาท หรือสำหรับคนที่ไม่คุ้นเคยก็อาจโดนโก่งราคาขึ้นไปถึง 25 ริงกิตหรือ 250 บาท เนื่องจากความหรูหราของชื่อมันที่นำหน้าด้วย crystal .... ที่สิงคโปร์โลละ  12 เหรียญหรือเกือบๆสามร้อยบาท..

ตัวอย่างที่ซื้อมาจากตลาดเมื่อเช้า  ขนาดจะเท่าๆกับมะเขือเปาะดังรูป 



     ต้นไม้ Kasai นี้มีการปลูกกันอย่างแพร่หลายใน Lundu ซึ่งเป็นหมู่บ้านชายฝั่งทางตอนใต้ของรัฐซาราวัก     และจากข้อสัญนิษฐานได้กล่าวไว้ว่าผลไม้นี้มีต้นกำเนิดอยู่ที่ประเทศปาปัวนิวกินี  และได้ถูกนำเพาะปลูกขยายพันธุ์ในมาเลเซียโดย Timberman   และจึงทำให้ผลไม้ชนิดเป็นที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า ลำใยฟิเจียน ( fijian longan) ในหมู่ประเทศเพื่อนบ้านของมาเลเซีย...


   แต่สำหรับประเทศไทยเรานั้นผมเองก็ไม่ทราบว่ามีปลูกแถวไหนบ้าง... หากใครเคยเห็นแล้วละก็รบกวนช่วยแนะนำด้วยนะครับ


 
***  สำหรับคำถามที่ว่าทำไมเรียก ปาปัวนิวกีนีว่า "ฟิเจียน" นั้น ( fijian ) ผมก็ยังไม่แน่ใจ ... แต่จากประสบการณ์ที่เคยเดินทางไปปาปัวนิวกีนีมา 4-5 ครั้ง   ก็พอทราบว่าชาวปาปัวนิวกีนีนั้นนิยมใช้ภาษา ฟิจิ เป็นภาษาพูด ดังนั้นคำว่าฟิจิ ก็น่าจะชื่อของชนเผ่ากลุ่มในปาปัวนิวกีนี่  ( ปาปัวมีภาษาพูดหลายประมาณ 850 ภาษา ดังข้อมูลต่อไปนี้ ....... The languages of Papua New Guinea today number over 850. These languages are spoken by the inhabited tribal groups of Papua New Guinea) 


คลิปที่น่าสนใจ




ลิงค์ที่น่าสนใจ

http://matahariborneo.blogspot.sg/2014/02/borneo-fruits-sarawak-crystal-longan.html

http://benardcometh.blogspot.sg/2010/06/crystal-fruit.html

http://bombasticborneo.com/2013/01/crystal-fruit/

No comments:

Post a Comment