ค็อกซ์บาซาร์(cox's bazar) ... ชายหาดธรรมชาติที่ยาวที่สุดในโลก
ในช่วงที่ผ่านมา (ประมาณเดือนพฤษาคม 2558 ) ข่าวโรฮิงญานั้นถือว่าเป็นข่าวใหญ่และเป็นที่สนใจของผู้คนทั่วไปทั้งในประเทศไทยและบนเวทีระดับโลก
เริ่มต้นแรกๆ หลายแหล่งข่าวก็อ้างว่าชาวโรฮิงญาเหล่านั้นได้หนีการกดขี่ หนีการต่อสู้และหนีความขัดแย้งเรื่องศาสนามาจากรัฐยะไข่ ประเทศพม่า ซึ่งมีชายแดนติดกับประเทศบังคลาเทศ
แต่หลังที่จากเป็นข่าวที่มีข่าวครึกโครมใหญ่โตมากขึ้นตามลำดับและมีผลกระทบถึงเรื่องสิทธิมนุษยชนในเวทีระดับนานาชาติ และเริ่มมีเหตุขัดแย้งกันมากขึ้นภายในประเทศ ที่มีทั้งกลุ่มที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในการที่จะผลักดันโรฮิงญาออกไปให้พ้นเขตประเทศไทย
อีกฝ่ายก็รู้สึกเห็นใจเพื่อนนุษย์ด้วยต้องมาตกระกำลำบาก ส่วนอีกฝ่ายก็มองว่าโรฮิงญาที่ทะลักเข้ามาในเขตไทยไม่ใช่ที่หนีปัญหามาจากรัฐยะไข่เท่านั้น แต่ที่แท้จริงแล้วบางส่วนมันเกิดจากขบวนการค้ามนุษย์ที่มีจุดเริ่มต้นมาจากค็อกซ์บาซาร์ ซึ่งเป็นพื้นที่ในเขตประเทศบังคลาเทศ
ส่วนพี่เสือเองจะไม่สรุปว่าอะไรควรไม่ควร แต่จะมารีวิวให้เห็นภาพกระจ่างขึ้นเท่านั้นว่า ค็อกซ์บาซาร์ ที่มีการนำเสนอในข่าวนั้น มันอยู่ตรงไหน อย่างไร ? ซึ่งพี่เสือเคยไปทำโปรเจ็คที่บังคลาเทศ ( ลิงค์ >> โปรเจ็คที่บังคลาเทศ) และมีโอกาสได้เดินทางไป ณ สถานที่แห่งนี้มา ซึ่งก็เลยถือโอกาสเก็บภาพและเรื่องเล่าเล็กๆมาฝากันดังนี้
การเดินทางนั้นก็สามารถทำได้โดยการนั่งรถบัสโดยสารปรับอากาศจากเมืองจิตตะกอง(เมืองท่าของบังคลาเทศ) ซึ่งระยะทางก็ประมาณ 150 กิโลเมตรเท่านั้น
แต่การเดินทางค่อนข้างใช้เวลายาวนานสักหน่อย ซึ่งขณะนั้นต้องใช้เวลาถึง 5 ชั่วโมงกว่า เนื่องจากสภาพถนนค่อนแคบสองเลนซ์และสภาพเป็นหลุมเป็นบ่อตลอดทาง ซึ่งรถบัสสามารถทำความเร็วเฉลี่ยได้ประมาณ 30-40 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเท่านั้น
20 กรกฏาคม 2549 (2006 ) คือวันที่พี่เสือได้มีโอกาสไปสัมผัสบรรยากาศและสูดอากาศที่ค๊อกซ์บาซาร์
นสพ.ไทยรัฐ >> ข่าวโรฮิงญา
_/|\_ ขอขอบคุณนะครับ ที่ติดตาม ติชม แสดงความคิดเห็น กดไลน์ กดแชร์ และคลิกป้ายผู้สนับสนุนให้
ที่มา : http://pantip.com/topic/33676866 |
เริ่มต้นแรกๆ หลายแหล่งข่าวก็อ้างว่าชาวโรฮิงญาเหล่านั้นได้หนีการกดขี่ หนีการต่อสู้และหนีความขัดแย้งเรื่องศาสนามาจากรัฐยะไข่ ประเทศพม่า ซึ่งมีชายแดนติดกับประเทศบังคลาเทศ
แต่หลังที่จากเป็นข่าวที่มีข่าวครึกโครมใหญ่โตมากขึ้นตามลำดับและมีผลกระทบถึงเรื่องสิทธิมนุษยชนในเวทีระดับนานาชาติ และเริ่มมีเหตุขัดแย้งกันมากขึ้นภายในประเทศ ที่มีทั้งกลุ่มที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในการที่จะผลักดันโรฮิงญาออกไปให้พ้นเขตประเทศไทย
อีกฝ่ายก็รู้สึกเห็นใจเพื่อนนุษย์ด้วยต้องมาตกระกำลำบาก ส่วนอีกฝ่ายก็มองว่าโรฮิงญาที่ทะลักเข้ามาในเขตไทยไม่ใช่ที่หนีปัญหามาจากรัฐยะไข่เท่านั้น แต่ที่แท้จริงแล้วบางส่วนมันเกิดจากขบวนการค้ามนุษย์ที่มีจุดเริ่มต้นมาจากค็อกซ์บาซาร์ ซึ่งเป็นพื้นที่ในเขตประเทศบังคลาเทศ
ส่วนพี่เสือเองจะไม่สรุปว่าอะไรควรไม่ควร แต่จะมารีวิวให้เห็นภาพกระจ่างขึ้นเท่านั้นว่า ค็อกซ์บาซาร์ ที่มีการนำเสนอในข่าวนั้น มันอยู่ตรงไหน อย่างไร ? ซึ่งพี่เสือเคยไปทำโปรเจ็คที่บังคลาเทศ ( ลิงค์ >> โปรเจ็คที่บังคลาเทศ) และมีโอกาสได้เดินทางไป ณ สถานที่แห่งนี้มา ซึ่งก็เลยถือโอกาสเก็บภาพและเรื่องเล่าเล็กๆมาฝากันดังนี้
- ค็อกซ์บาซาร์ อยู่ส่วนไหนของโลก
การเดินทางนั้นก็สามารถทำได้โดยการนั่งรถบัสโดยสารปรับอากาศจากเมืองจิตตะกอง(เมืองท่าของบังคลาเทศ) ซึ่งระยะทางก็ประมาณ 150 กิโลเมตรเท่านั้น
แต่การเดินทางค่อนข้างใช้เวลายาวนานสักหน่อย ซึ่งขณะนั้นต้องใช้เวลาถึง 5 ชั่วโมงกว่า เนื่องจากสภาพถนนค่อนแคบสองเลนซ์และสภาพเป็นหลุมเป็นบ่อตลอดทาง ซึ่งรถบัสสามารถทำความเร็วเฉลี่ยได้ประมาณ 30-40 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเท่านั้น
- จุดเด่นของ ค็อกซ์บาซาร์ คืออะไร
ภาพประกอบจากกลูเกิล : บริเวณชายหาดซึ่งจะเป็นว่ายาวมาก ยาวไกลสุดหูสุดตา |
นักท่องเที่ยวช่วงลงเล่นน้ำ (ภาพประกอบจากกลูเกิล) |
เตียงและร่มชายหาด บริเวณที่มีชายหาดสะอาดและขาวหน่อย |
20 กรกฏาคม 2549 (2006 ) คือวันที่พี่เสือได้มีโอกาสไปสัมผัสบรรยากาศและสูดอากาศที่ค๊อกซ์บาซาร์
บริเวณชายหาด |
บริเวณชาดหน้าโรมแรม ซึ่งเป็นบริเวณที่นักท่องเที่ยวต่างชาตินิยมนอนเตียงอาบแดด |
ร้านค้าในตลาดตัวเมือง...ขายเสื้อผ้าและสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน *** .เนื่องจากเป็นเมืองชายแดนติดต่อกับพม่า ดังนั้นก็จะมีแม่ค้าที่มีเชื้อสายพม่าทำมาค้าขายอยู่ที่เป็นจำนวนมาก |
ร้ายขายเสื้อผ้าและของที่ระลึก ซึ่งแม่ค้าก็เป็นคนเชื้อสายพม่าอีกเช่นกัน *** คนบังคลาเทศเป็นเมืองมุสลิม ผู้หญิงจะไม่ค่อยออกมาทำงา ดังนั้นคนขายของก็จะเป็นพ่อค้าหรือเป็นผู้ชายซะส่วนใหญ่ |
วัดพุ่ทธ ของชนเชื้อสายพม่า |
วัดของชาวพุทธ |
บริเวณหมู่บ้าน |
บ้านที่อยู่ชาญเมือง |
หนูๆ เชื้อสายบังคลาเทศแท้ๆ (เมด อิน บังลาเทศ) |
นสพ.ไทยรัฐ >> ข่าวโรฮิงญา
_/|\_ ขอขอบคุณนะครับ ที่ติดตาม ติชม แสดงความคิดเห็น กดไลน์ กดแชร์ และคลิกป้ายผู้สนับสนุนให้
No comments:
Post a Comment